27 กุมภาพันธ์ 2551

กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลแอสโคเซนด้า(Vanda & Ascocenda)

สกุลแวนด้าเป็นกล้วยไม้ที่สามารถพบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดียเรื่อยไปจนถึงฟิลิปปินส์ สกุลแวนด้าเป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะ "แวนด้า ฟ้ามุ่ย(Vanda coelurea)"ที่มีลักษณะเด่นคือ มีสีฟ้า ดอกใหญ่ ทำให้ฟ้ามุ่ยเป็นแวนด้าที่มีคนนำมาพัฒนามากมายจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยกล้วยไม้สกุลแวนด้าได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้คนทั่วไปเพราะหากมีการดูแลที่ดีแล้วแวนด้า 1 ช่อสามารถบานทนได้นานเป็นเดือน อีกทั้งในปัจจุบันแวนด้าในประเทศไทยยังได้รับการยอมรับจากประเทศทั่วโลกว่ามีการเพาะเลี้ยง และมีสายพันธุ์ที่ดีที่สุดอีกด้วย
สำหรับสกุลแอสโคเซนด้านั้นเป็นสกุลลูกผสมระหว่างสกุลแวนด้าผสมกับสกุลแอสโคเซนตรัม(Ascocentrum) หรือที่รู้จักกันในนาม "เข็ม" เนื่องจากสกุลนี้ผู้ที่สามารถผสมได้เป็นคนแรกคือ ศ.ระพี สาคริก ถือเป็นการผสมข้ามสกุลทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีลักษณะคล้ายแวนด้าแต่ดอกมีขนาดที่เล็กลงและมีสีสันจัดจ้านมากยิ่งขึ้น ทำให้เป็นอีกหนึ่งสกุลที่มีความสวยงามไม่แพ้สกุลอื่น

ภาพกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลแอสโคเซนด้า(Vanda & Ascocenda)

แวนด้าดร.เอนก(V.Dr.Anek)

(V.Dr.Anek x V.Ket Chan) x V.coelurea


แวนด้าฟ้ามุ่ยเผือก(Vanda coelurea var.alba)




แอสโคเซนด้าสุขสำราญ ซันไลท์



แวนด้าทวีศึกษา x แวนด้าพิมพ์ใจบิวตี้




แวนด้าบางยี่ขันเรด x แอสโคเซนด้าขอบฟ้า





01 กุมภาพันธ์ 2551

เว็ปนี้คือเว็ปแจก Code แพลง แต่ต้องสมัครสมาชิกกับเขาก่อนนะ

http://club.yenta4.com/list_topic.php?club=mp3_movie&club_id=20085&table_id=1&cate_id=61973

15 มกราคม 2551

16 มกราคม วันครู



16 มกราคม วันครู



ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา
ปัญฺญาวุฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ



ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ของสังคมและประเทศชาติ


ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ด้วยเห็นความสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้น ในวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในส







การจัดงานวันครู


การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์






มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู


1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน


คำปฏิญาณตนของครู


1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ

2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ

3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น




ที่มา












11 มกราคม 2551

ข้อมูลการเดินทางของ จ. ราชบุรี

รถยนต์

- เส้นทางสายเก่า สายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านบางแค-อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี-นครปฐม-ราชบุรี
- เส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข 338 จากกรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี
หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543


รถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง และสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 1690 หรือ 0 2220 4334, 0 2220 4444 สถานีรถไฟธนบุรี โทร. 0 2411 3102 และสถานีรถไฟราชบุรี โทร. 0 3233 7002 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถ จากสถานีขนส่งสายใต้ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน ทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศชั้น 1 และรถปรับอากาศชั้น 2 วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ห้องจำหน่ายตั๋ว โทร. 0 2434 7192, 0 2435 5605 หรือ www.transport.co.th และ บริษัทราชบุรีกลุ่ม 76 (ราชบุรี) จำกัด โทร. 0 3233 8439, 0 3232 2776, 0 3232 5152, 0 3233 8276 รถปรับอากาศชั้น 1 (ราชบุรี) โทร. 0 3233 7787 มีรถออกทุก 20 นาที (เที่ยวแรกออกจากกรุงเทพฯเวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 23.00 น.) (เที่ยวแรกออกจากราชบุรีเวลา 04.00 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น.)

นอกจากนี้จากสถานีขนส่งราชบุรีมีบริการรถโดยสารประจำทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี